slide1
สาขาเอเชียศึกษา

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
Bachelor of Arts Program in Asian Studies (Multidisciplinary)

ชื่อปริญญา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

อักษรศาสตรบัณฑิต (เอเชียศึกษา)
Bachelor of Arts (Asian Studies)

รูปแบบของหลักสูตรและจำนวนหน่วยกิต

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนไม่น้อยกว่า 139 หน่วยกิต โดยมี 2 รูปแบบ

  • แบบที่ 1:  หลักสูตรเอเชียศึกษา เรียนที่คณะอักษรศาสตร์ 4 ปี
  • แบบที่ 2:  หลักสูตรเอเชียศึกษา แบบ 7+1 นักศึกษาที่เลือกเรียนหลักสูตรเอเชียศึกษา แบบ 7+1 จะเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ 7 ภาคการศึกษา และเรียนที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่คณะฯ กำหนด 1 ภาคการศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมหลักสูตรเอเชียศึกษาแบบ 7+1 เองทั้งหมด

จุดเด่นของหลักสูตร

บูรณาการความรู้ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิภาคเอเชียเข้าด้วยกัน พัฒนาทักษะทางด้านภาษาเอเชีย (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม) เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง มีการเรียนการสอนที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทัศนคติที่ดี วิจารณญาณ ทักษะการวิจัย และมีความคิดสร้างสรรค์

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร

200,000 บาท (ค่าธรรมเนียมการศึกษายังไม่รวมค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัย)

สำหรับหลักสูตรเอเชียศึกษา แบบ 7+1 จะมีค่าลงทะเบียนเรียนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศเพิ่มเข้ามาด้วย

สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตําบลพระปฐมเจดีย์ อําเภอเมืองนครปฐมจังหวัดนครปฐม 73000

ผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะหลักสูตรเมื่อจบการศึกษา (Program Learning Outcomes (PLOs))

  1. อธิบายเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจสังคม การเมือง และวัฒนธรรมของประเทศ
    ในภูมิภาคเอเชียได้
  2. อภิปรายประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียได้
  3. ความรู้ด้านภาษาและ/หรือวัฒนธรรมมาใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจําวันทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
  4. ใช้ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลมาตั้งข้อสังเกตและ/หรือตั้งประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชีย
  5. ใช้เทคโนโลยีสีบค้นข้อมูลและพัฒนากระบวนการทํางานตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน
  6. บูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์ต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียอย่างเป็นระบบ
  7. สังเคราะห์และผลิตงานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียได้
  8. ยึดมั่นและเคารพกฎระเบียบของสังคม และเข้าใจ/ยอมรับวัฒนธรรมความคิดที่แตกต่างหลากหลาย

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้ดังนี้

  • ผู้สอนหรือนักวิชาการด้านเอเชียศึกษา
  • เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ
  • ข้าราชการและพนักงานของรัฐ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
  • พนักงานเอกชน เช่น พนักงานสายการบิน พนักงานโรงแรม พนักงานด้านสื่อสารมวลชน พนักงานบริษัทรับจัดงาน ฯลฯ
  • ธุรกิจส่วนตัว เช่น ธุรกิจสถาบันกวดวิชา ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ ฯลฯ
  • อาชีพอิสระ เช่น นักเขียน นักแปล มัคคุเทศก์ ล่าม ฯลฯ