ml-bg
ภาควิชา
ภาษาปัจจุบันตะวันออก

ประวัติภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก

 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดยรวมสาขาวิชาภาษาจีน และสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และสาขาวิชาภาษาอาหรับเข้าด้วยกัน
          ภาควิชาฯ ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ดังนี้
          ในปีการศึกษา 2540 เปิดสอนหลักสูตรวิชาเอก-โทภาษาญี่ปุ่น
          ในปีการศึกษา 2541 เปิดสอนหลักสูตรวิชาโทภาษาอาหรับ
          ในปีการศึกษา 2542 เปิดสอนหลักสูตรวิชาเอก-โทภาษาจีน
          ในปีการศึกษา 2545 เปิดสอนหลักสูตรวิชาเอก-โทภาษาเกาหลี
          นอกจากนี้ ยังเปิดรายวิชาภาษาฟาร์ซี และภาษาเขมรเป็นรายวิชาเลือกเสรี และรายวิชาภาษาฟาร์ซีเป็นรายวิชาระดับต้นของคณะอักษรศาสตร์อีกด้วย
        ในปีการศึกษา 2554 ปรับหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และเป็นหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาเอเชียตะวันออก มีวิชาเอก 3 สาขาวิชา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี และวิชาโท 4 รายวิชา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ

ปรัชญา

บัณฑิตภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออกเป็นผู้ใฝ่รู้ มีความรู้และทักษะในการสื่อสาร รู้จักเข้าใจผู้อื่น มีทัศนคติที่ดีต่อสังคมและโลก และนำความรู้ไปช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

วิสัยทัศน์

เอเชียตะวันออกประกอบด้วยประเทศที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลกทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ การศึกษาและทำความเข้าใจภาษา สังคม และวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มนี้ จะช่วยพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาประเทศชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอีกด้วย