ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
Bachelor of Arts Program in Thai
ชื่อปริญญา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
อักษรศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
Bachelor of Arts (Thai)
รูปแบบของหลักสูตรและจำนวนหน่วยกิต
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนไม่น้อยกว่า 145 หน่วยกิต
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่พัฒนาผู้เรียนให้ความเข้าใจภาษาและวรรณคดีไทย สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และวิจัยได้อย่างมีหลักเกณฑ์ ตลอดจนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวรรณคดีไทยกับศาสตร์ต่าง ๆ พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพทั้งในการประกอบอาชีพ และการแสวงหาความรู้ในระดับที่สูงขึ้น และส่งเสริมให้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการศึกษาภาษาและวรรณคดีไทยในฐานะที่เป็นวัฒนธรรม และเป็นเครื่องมือที่สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลในชาติ
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร
120,000 บาท (ค่าธรรมเนียมการศึกษายังไม่รวมค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัย)
สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตําบลพระปฐมเจดีย์ อําเภอเมืองนครปฐมจังหวัดนครปฐม 73000
ผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะหลักสูตรเมื่อจบการศึกษา (Program Learning Outcomes (PLOs))
- อธิบายลักษณะและพัฒนาการของภาษาและวรรณคดีไทยเพื่อให้เกิดความเข้าใจและภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมไทย
- สรุปและอธิบายหลักการแนวคิดและทฤษฎีทางภาษาและวรรณคดีไทยได้
- ใช้หลักการ แนวคิดหรือทฤษฎีต่าง ๆ อธิบายข้อมูลทางภาษาและวรรณคดีไทยได้อย่างถูกต้อง
- ใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจําวันและในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้ง การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพื่อแสวงหาความรู้ได้อย่างยั่งยืน
- ใช้ความรู้ทางภาษาและวรรณคดีไทยรวมทั้งเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมผลิตผลงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีจริยธรรม
- ใช้ความรู้ทางภาษาและวรรณคดีไทยผลิตผลงานวิชาการได้อย่างมีจริยธรรม
- วิเคราะห์ข้อดีข้อด้อยและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
- วิเคราะห์ข้อมูลภาษาและวรรณคดีไทยตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวรรณคดีไทยกับศาสตร์ต่างๆ และบริบททางสังคมได้
- วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประเด็นศึกษาทางภาษาและวรรณคดีไทย เพื่อนํามา พัฒนางานวิชาการและอ้างอิงทางวิชาการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- วิเคราะห์ประเด็นศึกษาทางภาษาและวรรณคดีไทยได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการวิจัย
เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้ดังนี้
- เลขานุการ
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ / การตลาด
- นักเขียน
- นักข่าว
- นักหนังสือพิมพ์
- นักเขียนคอลัมน์
- นักแปล
- ผู้ดูแลเนื้อหาบนสื่อออนไลน์
- กองบรรณาธิการ