ประวัติภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก
ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดยรวมสาขาวิชาภาษาจีน และสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และสาขาวิชาภาษาอาหรับเข้าด้วยกัน
ภาควิชาฯ ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ดังนี้
ในปีการศึกษา 2540 เปิดสอนหลักสูตรวิชาเอก-โทภาษาญี่ปุ่น
ในปีการศึกษา 2541 เปิดสอนหลักสูตรวิชาโทภาษาอาหรับ
ในปีการศึกษา 2542 เปิดสอนหลักสูตรวิชาเอก-โทภาษาจีน
ในปีการศึกษา 2545 เปิดสอนหลักสูตรวิชาเอก-โทภาษาเกาหลี
นอกจากนี้ ยังเปิดรายวิชาภาษาฟาร์ซี และภาษาเขมรเป็นรายวิชาเลือกเสรี และรายวิชาภาษาฟาร์ซีเป็นรายวิชาระดับต้นของคณะอักษรศาสตร์อีกด้วย
ในปีการศึกษา 2554 ปรับหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และเป็นหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาเอเชียตะวันออก มีวิชาเอก 3 สาขาวิชา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี และวิชาโท 4 รายวิชา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ
ต่อมาในปีการศึกษา 2526 ได้เริ่มขยายงานของหมวดวิชาขึ้นเป็นภาควิชามีชื่อว่า “ภาควิชานาฎยสังคีต ” เปิดสอนสาขานาฎศาสตร์ (ศิลปะการละคร) เป็นวิชาเอก และสาขาสังคีตศิลป์เป็นวิชาโท โครงการขยายภาควิชาและหลักสูตรดังกล่าวได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2527 และเปิดรับนักศึกษาวิชาเอกในปีการศึกษา 2528 มีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกนาฎศาสตร์ (ศิลปะการละคร) เป็นรุ่นแรกในปีการศึกษา 2529
ในการปรับปรุงหลักสูตรคณะอักษรศาสตร์ปีการศึกษา 2536 ภาควิชานาฎยสังคีตได้ขยายงานการสอนโดยเปิดสอนสาขาสังคีตศิลป์เป็นวิชาเอกเพิ่มเติม ปัจจุบันภาควิชานาฎยสังคีตเปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขานาฎยสังคีต (สาขานาฏศาสตร์ และสาขาสังคีตศิลป์) โดยการเรียนการสอนมุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงศิลปะการละคร/ดนตรีไทยในฐานะศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับสังคม สิ่งแวดล้อม และชีวิตมนุษย์ อีกทั้งยังมุ่งที่จะสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุและจิตใจ และเพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย
ปรัชญา
บัณฑิตภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออกเป็นผู้ใฝ่รู้ มีความรู้และทักษะในการสื่อสาร รู้จักเข้าใจผู้อื่น มีทัศนคติที่ดีต่อสังคมและโลก และนำความรู้ไปช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ปรัชญา
- มุ่งให้บัณฑิตรอบรู้ศิลปวิทยา มีความคิดสร้างสรรค์อย่างผู้มีภูมิปัญญาและทรงคุณธรรม
- มุ่งความเป็นสากล