อาจารย์ ดร. ยิ่งยศ บุญจันทร์

Instructor

YINGYOT BOONCHANT, Ph.D.

boonchant_y@su.ac.th

วุฒิการศึกษา

  • อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (สำเร็จการศึกษาปี 2566)
  • อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (สำเร็จการศึกษาปี 2562)
  • อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยศิลปากร (สำเร็จการศึกษาปี 2557)

วิทยานิพนธ์

  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. (2566). “ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับไทย ระหว่าง ค.ศ. 1955-1970: ศึกษาผ่านทรรศนะสมเด็จพระอุปยุวราชนโรดมสีหนุ.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. [ระดับดีมาก (Excellent)]
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. (2561). “แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติและการเคลื่อนไหวด้านชาตินิยมของปัญญาชนเขมร ค.ศ. 1930-1955.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. [ระดับดีมาก (Excellent)]

ความสนใจทางวิชาการ

  • ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคอาณานิคม
  • ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยใหม่

ผลงานวิจัย

ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
  • ชุลีพร วิรุณหะ, วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ, ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์, ยิ่งยศ บุญจันทร์ (ผู้ช่วยวิจัย). (2564). โครงการศุลกสถาน (Old Custom House) ในฐานะพื้นที่ความทรงจำ (Site of Memory): การสืบค้น-ประมวลข้อมูลและพัฒนาเนื้อหาประวัติศาสตร์เพื่อการจัดการเชิงพิพิธภัณฑ์และสื่อสารเทศ, ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ซึ่งรับผิดชอบด้านการทำสื่อประชาสัมพันธ์จากบริษัท ยูซิตี้ จำกัด
  • จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ วีรวัฒน์ อินทรพร และยิ่งยศ บุญจันทร์. (2559). “บทสังเคราะห์และบรรณานุกรม: งานเขียนว่าด้วยหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ.” ใน โครงการวิจัยผลงานว่าด้วยหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ประจำปี 2559.

ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น ๆ

การประชุมเสวนาวิชาการ
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. “พระสงฆ์หัวก้าวหน้าและปัญญาชนกับการปกป้องรักษา ‘ความเป็นเขมร’ ค.ศ. 1920-1942.” งานเสวนาบัณฑิตศึกษา “ย้อนวันวารกับงานวิจัย” วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 ณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม.
  • จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ วีรวัฒน์ อินทรพร และยิ่งยศ บุญจันทร์. “บทสังเคราะห์และบรรณานุกรม: งานเขียนว่าด้วยหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ.” งานเสวนา “รำลึกถึงหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ” วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559 ณ ห้องศศินทร์ ฮอลล์ ชั้น 9 อาคารศศปาฐศาลา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์.
บทความทางวิชาการ

ระดับชาติ

  • ยิ่งยศ บุญจันทร์, พวงทิพย์ เกียรติสหกุล. (2566). “การรักษาอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระอุปยุวราชนโรดมสีหนุกับการสร้างกระแสชาตินิยมจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับไทย ค.ศ. 1955-1970.” วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา 45, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): E1719. (ฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์, พวงทิพย์ เกียรติสหกุล. (2565). ““แผนการกรุงเทพฯ”: แผนโค่นล้มสมเด็จพระอุปยุวราชนโรดมสีหนุ (1958-1959).” วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา 44, 1 (กันยายน-ธันวาคม): ARTS-44-3-2022-R09. (ฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. (2564). “การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จากกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ระหว่าง พ.ศ. 2501-2506.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 43, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 155-178. (ฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์, ชุลีพร วิรุณหะ. (2562). “การจัดการศึกษาแบบใหม่ของฝรั่งเศสกับการเพาะบ่มจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของพระสงฆ์เขมร.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 12, 2 (มีนาคม-เมษายน): 986-1014. (ฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
บทความแนะนำหนังสือ
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. (2561). “แนะนำหนังสือเรื่อง ชาติคืออะไร?.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 40, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 298-305. (ฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. (2558). “แนะนำหนังสือเรื่อง ราชันผู้พลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 37, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 255-261. (ฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. (2556). “แนะนำหนังสือเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรี.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 35, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 249-256. (ฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
บรรยายพิเศษ
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. “ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สังคมบรรพกาลถึงสิ้นสุดระบอบอาณานิคม.” วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) จังหวัดนครปฐม.
  • ยิ่งยศ บุญจันทร์. “ย้อนอดีตสุพรรณบุรี.” โครงการสุพรรณบุรีเมืองประวัติศาสตร์ ระหว่างวันที่ 10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม.
หนังสือ
  • รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ประวัติศาสตร์ พ.ศ. 2520-2557 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. อนันต์ชัย เลาหะพันธุ, บรรณาธิการ. พวงทิพย์ เกียรติสหกุล และยิ่งยศ บุญจันทร์, ผู้ช่วยบรรณาธิการ. นครปฐม: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.