ml-bg
งานวิจัย
ข้อมูลงานวิจัย
ทุนและเงินรางวัล
คณะอักษรศาสตร์
สำนักงานบริหารการวิจัยฯ
รายงานข้อมูลเพื่อลง RIS
ผลงานบุคลากร
หลักเณฑ์การขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย นวัตกรรมและสร้างสรรค์
สำหรับบุคลากรคณะอักษรศาสตร์
1. คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน
- เป็นบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ไม่อยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติราชการหรือทดลองปฏิบัติงาน
- ไม่อยู่ระหว่างการลาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ การลาไปปฏิบัติการวิจัยหรือสร้างสรรค์ การลาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการด้านการวิจัยหรือสร้างสรรค์ การลาไปปฏิบัติงานเพื่อเขียนตำราทางวิชาการ การลาศึกษาต่อหรือลาฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ไม่มีภาระงานวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ที่ได้รับทุนจากคณะ ค้างส่ง ยกเว้นเป็นผู้ร่วมวิจัยของโครงการวิจัยได้ไม่เกิน 1 โครงการ
- หากมีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 1.2 ข้อ 1.3 และข้อ 1.4 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะอักษรศาสตร์
2. ลักษณะของงานวิจัย/งานสร้างสรรค์
- 1) โครงการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 2 ปี และมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 50,000 บาท
- โครงการวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ของคณะอักษรศาสตร์ มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 2 ปี และมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท
- เป็นโครงการวิจัยสถาบัน ที่มีกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ความจริงโดยวิธีการที่เชื่อถือได้ในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันหรือองค์กร หรือหน่วยงานตนเอง มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 2 ปี และมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 70,000 บาท
- งานสร้างสรรค์ มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 2 ปี และมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท
- ชุดโครงการวิจัยต้องมีโครงการวิจัยย่อย จำนวน 3 – 5 โครงการ และมีบทสังเคราะห์ที่แสดงถึง การบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยย่อย มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 2 ปี มีค่าใช้จ่ายในการจัดทำบทสังเคราะห์ไม่เกิน 30,000 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของโครงการ และค่าใช้จ่ายชุดโครงการละไม่เกิน 600,000 บาท
3. ขั้นตอนและข้อกำหนดการขอรับทุน
- ผู้ขอรับทุนส่ง บันทึกข้อความขอรับทุนวิจัย ข้อเสนอโครงการวิจัย และแบบเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ มายังคณะฯ โดยผ่านหัวหน้าภาควิชา/เลขานุการคณะฯ ตามกำหนดระยะเวลาในประกาศเปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการวิจัยฯ
- คณะอนุกรรมการส่งเสริมการวิจัยจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน ความสอดคล้องของข้อเสนอโครงการวิจัยกับประกาศการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย คณะอักษรศาสตร์ คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและส่งข้อเสนอโครงการวิจัยให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
- เมื่อคณะฯ พิจารณาอนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัยแล้ว ผู้ได้รับทุนต้องลงนามในสัญญาการรับทุนอุดหนุนการวิจัย ภายในระยะเวลา 15 วันทำการ หลังจากประกาศผลการพิจารณาอนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัย มิฉะนั้นจะถือเป็นโมฆะ
- การนับวันดำเนินโครงการวิจัยให้เริ่มนับจากวันที่ลงนามในสัญญาการรับทุนอุดหนุนการวิจัยและสิ้นสุดโครงการวิจัยในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา
- ผู้ได้รับทุนต้องส่งรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย ต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมการวิจัยทุก 6 เดือน นับจากวันที่ลงนามในสัญญาการรับทุนอุดหนุนการวิจัย
4. การส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
- 1) เมื่อครบกำหนดส่งงานวิจัยแล้ว ผู้ได้รับทุนต้องส่งร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จำนวน 3 ชุด โดยมีรายละเอียดตามรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เพื่อเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพผลงานวิจัย
- เมื่อผู้ได้รับทุนปรับแก้ไขงานวิจัยจากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการส่งเสริมการวิจัยให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ได้รับทุนส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์จำนวน 5 เล่ม พร้อมทั้งบทความวิจัย และสำเนาข้อมูลลงเครื่องบันทึกข้อมูลขนาดพกพา (flash drive) หรือส่งทาง E-mail รวมทั้งส่งรายงานสรุปค่าใช้จ่ายเงิน และทะเบียนคุมรายรับรายจ่าย ภายในกำหนด 2 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดระยะการทำวิจัย
- การเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยในวารสารหรือเอกสารที่สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ รวมทั้งส่วนหน้าปกและกิตติกรรมประกาศของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผู้ได้รับทุนจะต้องระบุว่า “งานวิจัย/นวัตกรรม/งานสร้างสรรค์นี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. (ปีที่ดำเนินการเสร็จ)” ภายใน 1 ปี นับจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินงานวิจัย
5. การขอขยายระยะเวลาดำเนินงานวิจัย
การขอขยายระยะเวลาดำเนินงานวิจัยสามารถทำได้ไม่เกิน 2 ครั้งครั้งละ 6 เดือน โดยส่งบันทึกขอขยายระยะเวลาดำเนินงานวิจัย และแบบรายงานความก้าวหน้า (สว.อ.4) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานในข้อเสนอโครงการวิจัย
ดูประกาศการให้ทุนอุดหนุนการวิจัยแก่บุคลากรฯ ได้ที่ https://t.ly/4Cmi
ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง
อ่าน ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง ได้ที่ “ระเบียบและหลักเกณฑ์ สำหรับบุคลากร” → “ด้านวิจัยและตำรา”