ประวัติภาควิชาภาษาเยอรมัน
ภาควิชาภาษาเยอรมันเป็นหน่วยงานหนึ่งของคณะอักษรศาสตร์ ตั้งแต่แรกตั้งในปีพุทธศักราช 2511 ให้การศึกษาวิชาเอก-โทภาษาเยอรมันตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต เมื่อครั้งเริ่มการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2511 ได้เปิดสอนภาษาเยอรมันเป็นวิชาโท โดยมีอาจารย์ของภาควิชาในระยะแรก 2 คน จากนั้นภาควิชาได้ขยายอัตราเพิ่มเติมจนเป็น 5 ตำแหน่งในปัจจุบัน และตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2531 เป็นต้นมา ได้ตำแหน่งประจำสำหรับอาจารย์ชาวต่างประเทศ 1 อัตรา มีนักศึกษาที่เลือกเรียนและสำเร็จการศึกษาวิชาเอกภาษาเยอรมันรุ่นแรกในปีพุทธศักราช 2530 จากนั้นเว้นไป 2 ปีที่ไม่มีนักศึกษาวิชาเอก มีเฉพาะที่เลือกเรียนเป็นวิชาโทเท่านั้น และนับจากปีพุทธศักราช 2533 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน มีผู้สำเร็จการศึกษาวิชาเอกภาษาเยอรมันทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นผู้ที่เริ่มเรียนภาษาเยอรมันในปีการศึกษาแรกที่คณะฯ โดยไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาเยอรมันจากชั้นมัธยมตอนปลายมาก่อน ซึ่งภาควิชาในเปิดหลักสูตรนี้เนื่องจากเห็นว่าจำนวนนักศึกษาที่เข้ามาจากการสอบส่วนกลางของทบวงมหาวิทยาลัยน้อยลงทุกปี การเปิดหลักสูตรภาษาเยอรมันเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาเยอรมันมาก่อนนั้นทำให้มีนักศึกษาปีหนึ่งเลือกเรียนในหลักสูตรนี้มากขึ้น และทำให้จำนวนนักศึกษาที่เรียนภาษาเยอรมันเป็นวิชาเอก-โท มีมากขึ้นเช่นกัน และจาการที่มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นนี้ทำให้ภาควิชาเห็นว่าลูกจ้างชั่วคราวชาวต่างประเทศของภาควิชา 1 คนที่มาเป็นอาจารย์สอนภาษาเยอรมันให้กับนักศึกษา 100 กว่าคนนั้นไม่เพียงพอ การที่จะได้ตำแหน่งนี้เพิ่มก็ยังไม่มีทางเป็นไปได้ ทางภาควิชาฯ ได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการเปิดรับสมัครนักศึกษาชาวเยอรมัน ออสเตรียน และสวิตเซอร์แลนด์ ที่เรียนวิชาการสอนภาษาเยอรมันในประเทศของเขาและต้องการมาดูงานด้านการสอนและมาฝึกสอนในภาควิชาฯ ทำให้ภาควิชาฯ ได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง นักศึกษาของเราได้มีโอกาสใกล้ชิดมีการสนทนาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาฝึกสอนบางคนได้ช่วยภาควิชาในด้านการสอนสนทนา การอ่านออกเสียง ร่วมทำกิจกรรมวิชาการของภาควิชาฯ และเป็นที่ปรึกษาทางภาษาให้กับอาจารย์ในภาควิชาฯ ด้วย ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของอาจารย์ชาวเยอรมันซึ่งมีเพียงคนเดียวนั้นได้เป็นอย่างดี
ปณิธานของภาควิชา
- ปณิธานของภาควิชาสอดคล้องกับปณิธานของคณะอักษรศาสตร์ คือ
- มุ่งให้บัณฑิตรอบรู้ในศิลปวิทยามีความสร้างสรรค์อย่างผู้มีภูมิปัญญาและทรงคุณธรรม
- มุ่งความเป็นสากล
วัตถุประสงค์
- เพื่อนำความรู้ภาษาเยอรมันไปใช้ในการสื่อสาร
- เพื่อให้มีความรู้และทักษะเบื้องต้นของการใช้ภาษาเยอรมัน เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ และเอกสารอื่นๆ ที่เป็นภาษาเยอรมัน
- เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะตามความสนใจ ความสามารถและความถนัดของผู้เรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพ และการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
- เพื่อเสริมสร้างวิชาการ พัฒนาความรู้ ทัศนคติ และวิจารณญาณ โดยนำหลักการและความคิดที่เป็นประโยชน์ทางด้านภาษา วัฒนธรรมและวรรณคดีเยอรมันมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในภาษา วัฒนธรรม วรรณคดีเยอรมัน และกิจกรรมทางปัญญา เพื่อเป็นพื้นฐานของการศึกษาในระดับสูงต่อไ