ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนัญญ์ เมฆหมอก

Assistant Professor

CHANAN MEKMOK, Ph.D.

วุฒิการศึกษา

ปริญญาตรี: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2552

ปริญญาโท: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2556; หัวข้อวิทยานิพนธ์: วัฒนธรรมพระเครื่องเมืองเพชร

ปริญญาเอก: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; หัวข้อวิทยานิพนธ์: การก่อตัวของสำนักช่างเมืองเพชรบุรี ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 25: ข้อพินิจภายใต้บริบทวัฒนธรรมกุฎุมพี

ฝึกประสบการณ์ด้านพิพิธภัณฑสถานศึกษา (museum studies) ที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา Linden-Museum Stuttgart เมือง Stuttgart สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างเดือนมกราคม 2566 ถึง มิถุนายน 2566

ประวัติการทำงาน

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2556 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2561 (รวมระยะเวลา 5 ปี 3 เดือน 15 วัน)

ความสนใจทางวิชาการ

  • สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • วัตถุกับวัฒนธรรม
  • ประวัติศาสตร์ผ่านวัตถุ
  • การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม
  • พิพิธภัณฑสถานศึกษา (museum studies)
  • วัฒนธรรมกระฎุมพีกับพัฒนาการงานช่างศิลปะในเมืองเพชรบุรี
  • วัฒนธรรมพระเครื่องในสังคมไทย
  • มานุษยวิทยาการเมือง
  • การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

รายงานวิจัย

  • นพนันท์ วรรณเทพสกุล และสิระ นุกูลกิจ. 2566. โครงการปริทัศน์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อการพัฒนาระบบความรู้สังคมศาสตร์ในประเทศไทย ภายใต้แผนงานวิจัย โครงการนำร่องเพื่อทดสอบระบบสนับสนุนการวิจัยสังคมศาสตร์สู่การเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย. รายงานวิจัยเสนอต่อกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน (บพค.) และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม (สอวช.)
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก และเหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ. 2564. ธรรมาสน์ไม้แกะสลักในเพชรบุรี: การวิจัยเชิงสำรวจ. รายงานวิจัยเสนอต่อกองทุนวิจัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • พิเชฐ สายพันธ์ และคณะ. 2562. การจัดการความรู้และสืบสานภูมิปัญญาด้วยพลังวัฒนธรรมและชาติพันธุ์จากท้องถิ่นสู่อาเซียน. รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก. 2560. สำนักและการสืบสานงานช่างไม้สายสกุลช่างเพชรบุรี. รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ

  • ชนัญญ์ เมฆหมอก. (2566). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแนววัฒนธรรม: การทบทวนความรู้ระหว่าง พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2565 และทิศทางการวิจัยในระยะต่อไป. ใน นพนันท์ วรรณเทพสกุล และสิร นุกูลกิจ (บรรณาธิการ), พรมแดนความรู้ของนักเศรษฐศาสตร์ไทย: การวิเคราะห์กระบวนทัศน์เพื่อพัฒนาระบบความรู้สังคมศาสตร์, กรุงเทพฯ: สํานักพิมพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก และเหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ. 2566. “ธรรมาสน์เทศน์ทรงบุษบกวัดท่าศาลารามในพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ: ขั้นตอนการอนุรักษ์และบทสะท้อนวัฒนธรรมการสร้างธรรมาสน์เมืองเพชรบุรี ช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25.” วารสารไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(1) (มกราคม-มิถุนายน 2566): 133-171.
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก. 2564. “ธุรกิจเมรุเมืองเพชร: พลวัตทางวัฒนธรรมของงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย.” วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23 (1) (กรกฎาคม-ธันวาคม): 1-20.
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก. 2563. “การศึกษาสังคมในแนวทางมานุษยวิธี (Ethnomethodology.)” วารสารศิลปศาสตร์ มทร. ธัญบุรี, 1 (2) (กรกฎาคม-ธันวาคม): 1-24.
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก. 2563. “ธรรมาสน์สำนักช่างวัดเกาะ: ประวัติศาสตร์วัตถุในบริบทวัฒนธรรมกระฎุมพีเมืองเพชร.” วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 11 (2) (กรกฎาคม-ธันวาคม): 73-101.
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก. 2561. “ธรรมาสน์เมืองเพชร: การสร้างสรรค์และสืบทอดงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น.” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 11 (2) (กรกฎาคม-ธันวาคม): 139-168.
  • ชนัญญ์ เมฆหมอก. 2559. “ชีวิต อัตลักษณ์ และตัวตนทางการเมืองของคนใต้: บทปริทัศน์หนังสือ เกิดมาหนึ่งชาติต้องกราบพระธาตุเมืองนคร.” วารสารธรรมศาสตร์, 35 (3) (กันยายน-ธันวาคม): 61-67.

ทุนหรือรางวัลทางด้านวิชาการ

  • 2562 งบประมาณสนับสนุนโครงการ “ธรรมาสน์ไม้แกะสลักในเพชรบุรี: การวิจัยเชิงสำรวจ” จากกองทุนวิจัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวน 296,260 บาท
  • 2561 งบประมาณสนับสนุนทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอก จากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จำนวน 1,802,000 บาท
  • 2559 งบประมาณทุนวิจัยแบบมุ่งเป้า วช. ปีงบประมาณ 2559 (จัดสรรโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.) เพื่อสนับสนุนโครงการ “สำนักและการสืบสานงานช่างไม้สายสกุลช่างเพชรบุรี” จำนวน 358,160 บาท

ประสบการณ์ทางวิชาการและการวิจัย

  • เข้ารับการฝึกงานด้านพิพิธภัณฑสถานศึกษา (museum studies) (ภายใต้การสนับสนุนทุนจากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก – คปก.) ที่แผนกเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Linden-Museum Stuttgart, เมือง Stuttgart ประเทศเ Germany ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาขนาดใหญ่และดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี ในขอบเขตประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้: (1) แนวคิดและทักษะพื้นฐานด้านการอนุรักษ์ เก็บรักษา และจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรม; (2) ประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยในเชิงวิพากษ์ อันเกี่ยวเนื่องกับพิพิธภัณฑสถานศึกษา (กระแส post-colonialism กับการปรับกระบวนทัศน์ด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์; ประเด็นถกเถียงเชิงจริยธรรม ในเรื่องบทบาทของพิพิธภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการได้มา การครอบครองสะสม สิทธิความเป็นเจ้าของ และสิทธิในการนิยามความหมายของวัตถุทางวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์)
  • การนำเสนอบทความ “Biography of Phra Ajarn Aab Sketchbooks: Phetchaburi Craftmanship Learning Culture in the Second Half of 25th Buddhist Century. (ชีวประวัติสมุดร่างภาพของพระอาจารย์อาบ: วัฒนธรรมการเรียนรู้งานช่างในเมืองเพชรบุรีช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 25) At “Interdisciplinary Studies in The Changing World: Social, Economic, and Technological Perspectives.” 25th-26th August 2022
  • นำเสนอบทความ “ธรรมาสน์สำนักช่างวัดเกาะ: ประวัติศาสตร์วัตถุในบริบทวัฒนธรรมกระฎุมพีเมืองเพชร” ในการประชุมวิชาการระดับชาติภายใต้โครงการ คปก. และ พวอ. ประจำปี 2564 “ขับเคลื่อนไทยโดยคนวิจัยกับโจทย์ท้าทายในยุควิถีใหม่” (14 มิถุนายน 2564)
  • นำเสนอบทความ “ธุรกิจเมรุเมืองเพชร: พลวัตของงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย” ในงาน วิชาการ “พิพิธภัณฑ์และมรดกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1” (21 กุมภาพันธ์ 2563) ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิม พระเกียรติ
  • อาจารย์พิเศษ ในรายวิชา สังคมวิทยาเบื้องต้น (สว. 201) สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (ภาคปกติ) ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 หัวข้อ “วัฒนธรรมพระเครื่องเมืองเพชร” (12 มีนาคม 2562) ณ อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • นักวิจัย ในโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น “การจัดการความรู้และสืบสานภูมิปัญญาด้วยพลังวัฒนธรรมและชาติพันธุ์จากท้องถิ่นสู่อาเซียน” สนับสนุนโดยฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2562 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิเชฐ สายพันธ์ หัวหน้าโครงการ)
  • อาจารย์พิเศษ ในรายวิชา สังคมวิทยาเบื้องต้น ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) (8 ตุลาคม 2561)
  • นำเสนอบทความ “งานช่างยุคกระฎุมพีอุปถัมภ์: การสร้างสรรค์และสืบทอดงานช่างไม้ภายใต้บริบทวัฒนธรรท้องถิ่น เพชรบุรี” ในงานประชุมวิชาการ “สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา ครั้งที่ 1” จัดโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (24 กันยายน 2561) ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • วิทยากรบรรยายในโครงการ อนุรักษ์ธรรมาสน์: สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การอนุรักษ์ธรรมาสน์โบราณจากวัดท่าศาลาราม จ. เพชรบุรี” (24 มีนาคม 2561) จัดโดยพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิทยากรบรรยาย “ห้องเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะ” หัวข้อ “ธรรมาสน์เมืองเพชรบุรียุคกระฎุมพีอุปถัมภ์” (1 มีนาคม 2561) ณ ห้อง FA 2 ชั้น 3 คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
  • วิทยากรบรรยาย “โครงการสัญจรพิพิธภัณฑ์ : เที่ยววัด ชมวังและงานช่างสกุลเมืองเพชร” (24-25 กุมภาพันธ์ 2561) จัดโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • หัวหน้าโครงการวิจัย “สำนักและการสืบสานงานช่างไม้สายสกุลช่างเพชรบุรี” สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2560
  • ผู้ช่วยวิทยากร ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “อาศรมวิจัยมนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 3” ภายใต้ชุดโครงการ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (5-8 มิถุนายน 2560) ณ โรงแรมเอสเคป เขาใหญ่ จ. นครราชสีมา
  • วิทยากรบรรยายในโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้บูรณาการภูมิวัฒนธรรม” (29-31 มีนาคม 2560) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • วิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ความคิดชาตินิยมในห้องเรียนไทย” (16 มีนาคม 2559) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ประสบการณ์ด้านการเป็นวิทยากร/กรรมการ ในการนิเทศก์และอบรมครู

  • กรรมการดำเนินงานตามโครงการ “แข่งขันคนเก่งในโรงเรียนท้องถิ่นระดับประเทศ” ประจำปีการศึกษา 2560 (5-7 กุมภาพันธ์ 2561) ณ โรงแรมอเล็กซานเดอร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • วิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครูในโลกยุคใหม่และการพัฒนาผู้เรียนด้วยการสอนแบบโครงงาน” โรงเรียนเขาย้อยวิทยา จ.เพชรบุรี (7 มกราคม 2560)
  • วิทยากรใน “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ สู่ Top Five Star ศูนย์พัฒนาคุณภาพวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม” โรงเรียนประจวบวิทยาลัย จ. ประจวบคีรีขันธ์ (29 กันยายน 2559)
  • วิทยากรในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาบูรณาการวิถี เกษตรกรรม สอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 47 จังหวัดเพชรบุรี (17 กันยายน 2559)
  • วิทยากรในการอบรม “เสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู สร้างสรรค์เด็กดีสู่สังคม” (3 กันยายน 2559) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 47 จังหวัดเพชรบุรี
  • วิทยากรในโครงการอบรม “ส่งเสริมศักยภาพในการเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย” (22-23 สิงหาคม 2559) โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี
  • วิทยากรในโครงการอบรม “ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับอำเภอ” (26 กรกฎาคม 2559) ณ สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
  • วิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาครูภาษาไทยด้านการวัดและประเมินระดับการคิดวิเคราะห์” (17 มิถุนายน 2559) ณ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี
  • วิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครูด้านการวัดผลและประเมินผล” (28 มีนาคม 2559) ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 47 จังหวัดเพชรบุรี