ผู้แต่ง : บาหยัน อิ่มสำราญ
ในบรรดาความรู้โบราณทั้งหลาย “พิธีกรรม” ถือเป็นรูปธรรมการแสดงออกซึ่งความรู้ ความคิด สติปัญญาความใฝ่ฝัน อันเป็นปัจจัยกำหนดพลังของสังคมให้เคลื่อนไปสู่ภาวะที่สมดุลมาทุกสมัย บทบาทเช่นนี้จะพบได้ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมของราชสำนักหรือพิธีกรรมของชาวบ้าน พิธีกรรมจึงเป็นข้อมูลที่นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจตลอดมา อย่างไรก็ตาม ในด้านวรรณคดีนั้นยังมีข้อมูลวรรณคดีพิธีกรรมอีกมากที่รอคอยผู้สนใจเข้าไปศึกษาเพื่อจัดระบบวรรณคดีที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทั้งหลาย ให้เป็นองค์ความรู้ของวรรณคดีประเภทนี้โดยเฉพาะ ผู้เขียนจึงได้จัดทำตำราเรื่องนี้ขึ้น เพื่อช่วยขมวดความคิดเกี่ยวกับวรรณคดีพิธีกรรมทั้งหลายที่กระจัดกระจายให้เป็นหมวดหมู่พอที่จะเป็นรากฐานทางวิชาการของนักศึกษาและผู้สนใจนำไปศึกษาในเชิงลึก อันเป็นวิธีการหนึ่งที่จะเข้าถึงความดี ความงาม และความจริงของสังคมไทยผ่านชุดข้อมูลทางวัฒนธรรมที่มีพิธีกรรมเป็นแกนกลาง ตำราเล่มนี้จึงขอทำหน้าที่เป็นปฐมบทของการศึกษา โดยเริ่มต้นจากวรรณคดีพิธีกรรมของราชสำนักหรือวรรณคดีพระราชพิธี นำเสนอภูมิหลังของวรรณคดีพระราชพิธีแต่ละเรื่อง ลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของตัวบท ตลอดจนชี้ให้เห็นบทบาทหน้าที่ของวรรณคดีพระราชพิธีที่มีต่อสังคม
ราคา 300 บาท (435 หน้า