“จากห้องเรียนศิลปะเก่าสู่ห้องเรียนออนไลน์กับการดำรงอยู่ของการวิจารณ์”

โปสเตอร์ทัศนศิลป์

เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็น

จากห้องเรียนศิลปะเก่าสู่ห้องเรียนออนไลน์กับการดำรงอยู่ของการวิจารณ์

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 18.00-20.00 .

The Reading Room .สีลม 19

วิทยากรผศ.ดร.เถกิง พัฒโนภาษ  ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม

             คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

             อาจารย์นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ หัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

             มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

                      ผศ.ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์

             มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดำเนินรายการ   วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร

       

          หลักการและที่มาของการจัดเสวนา

การฝึกปฏิบัติในสาขาศิลปะทุกแขนงไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของ การวิจารณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ปฏิบัติต้องการพัฒนาผลงานของตนเอง การได้รับการวิจารณ์จากบุคคลอื่น จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยเปิดประเด็นให้กับเจ้าของงานได้เป็นอย่างดี ในแง่นี้แม้กระทั่ง ในสถาบันการศึกษาศิลปะทุกแห่งจึงมีการใช้การวิจารณ์ในการเรียนการสอนทั้งในรูปของลายลักษณ์ และมุขปาฐะ

อย่างไรก็ตาม ผลจากการวิจัยในโครงการวิจัย การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรม ลายลักษณ์กับวัฒนธรรมเสมือนจริงซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ (1 .. 2553 – 31 มีนาคม 2555) พบว่า ธรรมชาติของการวิจารณ์ในสาขาทัศนศิลป์ทั้งในสถาบันการศึกษา และในวงการทัศนศิลป์นั้นกลับผูกติดอยู่ กับวัฒนธรรมการวิจารณ์แบบมุขปาฐะ หรือเป็นมุขปาฐะกึ่งลายลักษณ์ เห็นได้จากจำนวนการวิจารณ์ ลายลักษณ์ที่น้อยลงตามลำดับ ขณะที่การเสวนาทั้งในวงปิดและวงเปิดที่มีนัยยะเชิงวิจารณ์กลับมีจำนวน เพิ่มขึ้นทั้งในโลกจริง และโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งในส่วนหลังนี้เริ่มเป็นที่นิยมเมื่อไม่นาน หลังจากที่มีหนทางใน การสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น

จากแนวโน้มดังกล่าว จึงเป็นที่มาที่ทำให้ผู้วิจัยสาขาทัศนศิลป์สนใจที่จะศึกษาลักษณะการเรียน การสอนศิลปะในสถาบันการศึกษา ซึ่งแต่เดิมการเรียนการสอนศิลปะแบบเก่าจำกัดวงอยู่เพียงแค่ในวงการ การศึกษา มีอาจารย์สอนศิลปะ นักศึกษาสายศิลปะ หรือแวดวงผู้รู้และผู้ที่สนใจเพียงไม่กี่คน เริ่มถูกท้าทาย เป็นอย่างยิ่ง ทั้งในเชิงองค์ความรู้ และการเปิดพื้นที่ของการแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ รวมไปถึง ทัศนะทางการวิจารณ์ขององค์กรอิสระ และโลกของอินเตอร์เน็ตที่ทุกคนมีอิสรภาพ ในการครอบครองพื้นที่ ออนไลน์ของตนเองและเข้าถึงพื้นที่ออนไลน์ของผู้อื่น กล่าวคือ พื้นที่ของโลกเสมือนจริงไม่เพียงกำลังช่วย ทำลายกำแพงในเรื่องของเวลาและสถานที่ แต่กำลังท้าทายอำนาจของสถาบันการศึกษาที่เดิมเคยผูกขาด การเผยแพร่ความรู้ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เพียงต้องปรับปรนความรู้ที่ตนเองมีและเข้ามาใช้ประโยชน์จาก พื้นที่เสรีนี้มากยิ่งขึ้น

ในโอกาสนี้ การวิจารณ์ศิลปะ : รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเตอร์เน็ตจึงได้จัด กิจกรรมเสวนาขึ้นในห้วข้อ จากห้องเรียนศิลปะเก่าสู่ห้องเรียนออนไลน์กับการดำรงคงอยู่ของการวิจารณ์ ขึ้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้งสามท่าน จากสามสถาบันการศึกษาศิลปะ ในฐานะศิลปิน และอาจารย์ สอนวิชาศิลปะมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นในเรื่องการวิจารณ์ศิลปะกับการเรียนการสอนศิลปะในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าโลกของการเรียนการสอนศิลปะที่เปลี่ยนแปลงไปการวิจารณ์ จะดำรงคงอยู่ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไร

            วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมของสาขาทัศนศิลป์ในครั้งนี้มีขึ้นด้วยความตั้งใจสำคัญคือ เพื่อเปิดโอกาสในการ แสดงความคิดเห็นและเอื้อประโยชน์ในการสร้างวัฒนธรรมการวิจารณ์สาขาศิลปะ ซึ่งจากเดิมเคยจำกัด อยู่ในห้องเรียนและอยู่ในสื่ออินเตอร์เน็ตให้มาอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อผลักดันให้เกิดบรรยากาศทางการ วิจารณ์ศิลปะในวงการศิลปะร่วมสมัยไทยให้คึกคักมากยิ่งขึ้น

 

ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมติดต่อได้ที่ e-mail  thaicritic@hotmail.com

                                                                       โทรศัพท์ 02 434 6257

                                                                        จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *