Mourning Becomes the Thai People: October 13th and an Artistic Renaissance

บทวิจารณ์ของ ศ.ดร.เจตนา นาควัชระชุดนี้ประกอบด้วยบทวิจาร์สองบทความได้แก่

บทความภาษาอังกฤษ “Mourning Becomes the Thai People: October 13th and an Artistic Renaissance”

และบทความภาษาไทย “พระราชาพาให้ศิลปะเกิดใหม่” 

(แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับชื่อ “Mourning Becomes the Thai People: October 13th and an Artistic Renaissance”)

 

Mourning Becomes the Thai People:

October 13th and an Artistic Renaissance

Chetana  Nagavajara

 

            Thai historiography at times uncritically chronicles events according to a succession of monarchical reigns. That might work with political history, but when transferred to the domain of the arts, the method can become an uncomfortable frame. Yet there are exceptions, especially when a reigning monarch wielded an indisputable influence on artistic creations of various kinds such as in the case of Rama II, who provided leadership in the literary, visual and performing arts alike. In 1996 a group of Thai artists, art historians and curators decided to organize a mammoth exhibition under the title, “Art in the Reign of Rama IX”, for which a weighty three-volume catalogue was published, to which I was asked to contribute an introductory essay called, “The Golden Jubilee and Five Decades of Thai Visual Arts”. Twenty years have elapsed, and the exhibition can still be viewed online with one further decade added to it. The event was meant as a homage, and nobody questions whether the periodization accords well with the trends and directions of Thai art as a whole.

            October 13th, 2016 is a milestone in Thai artistic historiography as it has never been before and perhaps never will be. The departure of our beloved monarch does not mark the end of an era, certainly not in artistic terms. On the contrary, if sparks off an unprecedented explosion of artistic expressions of every imaginable form, from every imaginable quarter, by every imaginable group or individual. The demarcation line between professionals and amateurs is obliterated. “He was our king; he was my king; I am going to mourn his death in my own way and show my mourning to my fellow Thai, and also to the international community.” The traditional media no longer suffice, and the new social media provide the most convenient and the most accessible vehicle. And when the royal successor signified his wish not to hasten the pace of the accession to the throne, as he wished to have time to mourn the passing away of his royal father, this sentiment proved to be in consonance with the popular tenor. The country that only a few years ago was on the brink of breaking up into irreconcilable factions appears to be uniting once more in giving expression to its common grief. Mourning becomes the Thai people.

            If we are talking about the arts, then the question of artistic quality does arise. Emotional fervour can turn into an inspiration only in the case of those who master well their respective crafts. In lesser hands, it can degenerate into artless posturing or mushy paroxysm. Let us take music as an example. The post-13th October-period has witnessed a deluge of musical performances, and the little that one individual can consume is sufficient to allow us to form a certain judgement. There are two categories of music that are performed: first, His Majesty’s compositions, and second, newly composed works to mourn his departure. The performances in both categories abound, let us face it, in musical deficiencies and these can explain a serious problem that besets the Thai musical world at large. That the Thai popular song, at one time, was a terrain on which poets and composers collaborated harmoniously and generated masterpieces that are so rich musically as well as poetically. Lyricists of today, alas, possess no literary sense, while singers take pride in making their singing sound as Western as possible; and this does not concern only their mispronunciation of the Thai language. Composers, especially those in the category of pop and rock, are mostly incapable of probing genuinely deep emotions, let alone expressing them. The exception is, according to our eminent expert on Thai and South East Asian music, the collective offerings by the Luk Thung group (modernized folk music), which testifies both to its musical and literary inventiveness as well as genuine feeling, unfortunately marred, in my opinion, by lachrymose excesses. When all is said and done, this is perhaps no time for harsh criticism. On the social media, a distinguished musician came out and pleaded for tolerance: let the people mourn their King.

On the positive side, it needs to be emphasized that great artists know how to internalize emotions, recollect them “in tranquility” (according to the English Romantic poet William Wordsworth) and find the kind of expression that can become heart-rending without sentimentality. (The great French novelist, Gustave Flaubert, confesses that melodramas make him shed tears, but the great tragedies of Goethe do not!) As for the King’s compositions, one has to say that great originals usually lend themselves to further artistic explorations, and seven decades have given ample opportunity for Thai arrangers and composers to create masterful versions that more than enrich the repertoire. The version of “Blue Day” by former Privy Councilor, Mom Luang Usni Pramoj, for example, has always sounded convincing, but after October 13th, it touches the depth of your heart. So October 13th can be regarded as a new beginning. The requiems have taken on a new dimension, just like Johannes Brahms’s great work, which is not meant to mourn the dead but to give hope to the living!

            When we turn to the visual arts, we must not overlook the bastion of Thai traditional art, namely the sacred image. Sculpture, and to some extent, painting, were originally meant to serve a veneration of the sacred. Moving from religious to lay iconography has not been without its problems. Thai history has known its own version of image-breaking too, especially when political propaganda reached it zenith and certain groups of simple-minded folk began to replace their household royal images with that of the self-anointed Bodhisattva of the then political leader. In this respect, it must be said that Thai visual artists have remained conservative and have mostly stayed clear of political brainwashing. Their concern has more to do with how to keep up with the international trend of moving away from the realistic mode of representation, especially portraiture. Let us be honest about it, the current exhibition, “His Majesty Supreme Artist”, starting on December 5th, 2016, more than amply testifies to the extremely strained relationship between the majority of Thai painters, including senior ones, with realistic portraiture. Yet it was Rama IX, who in his capacity as a painter, also contributed to loosening the traditional straightjacket of absolute likeness (much in the same vein as he shook up the Thai bureaucracy with his warning against a too rigid interpretation of the notion, “The king can do no wrong”, in his New Year’s impromptu speech of 2005.)

            I wish to refer to the exhibition, “Portrait of the King: The Art of Iconography”, organized by the Bangkok Art and Culture Centre in 2009 which bears witness to the tension between the traditional realistic portraiture and the contemporary attempts at creative deviations — however small – which contain an immense potential that can propel contemporary Thai art circle to the level of a “hermeneutic society”, a society that knows how to interpret, in other words, a thinking society. Let me refer to the painting, “Strength of the Nation”, by Chairat Sangthong, (See illustration below) a “realistic” painting that establishes a link between the common people with the monarch in an indirect way. A 20-baht banknote is worth much, much more than its monetary value, simply because of its moral and spiritual worth. A concept underpins this work of art.

            That word “concept” should take us back to the contemporary art scene, with its aspirations, intellectualism, experimentalism and hermeticism. The visual arts, at the international level, are an area that perhaps leads the way in terms of innovative thinking, and Thai visual artists never fail to keep up with the latest. Take conceptual art as an example. Eminent Thai artists have espoused it, producing thought-provoking works. Abstract art, too, is a domain in which our compatriots have distinguished themselves. In installation, we are internationally recognized: let us not forget Documenta 12 in 2007 with a monumental Thai contribution in the form of a terraced rice field. (I visited the exhibition myself and had full understanding for the failure on the part of the hosts to provide sufficient water for it!) Participatory art has given us an opportunity to innovate: the global artistic community knows our Thai fried noodles (Phad Thai) better through a “work of art” than via the culinary excellence offered by all those Thai restaurants in foreign lands. As for performance art, even an international star like Marina Abramović is lagging behind her Thai counterpart in tackling the theme of death. We are never short of ideas: even within the framework of the revival of Thai traditional art, one prominent artist can make architecture perform a Thai traditional dance! 

            Recent experiments in media art are multifaceted, and here a serious problem has surfaced: artists do not have the technical skills to carry out the entire process of creating the work, and are content to act like architects. This practice has crossed over to the traditional art forms such as painting and drawing, with the artist assuming the role of a curator, while the real work is done by “craftsmen” who are drafted as mere assistants. The present age is dominated by curatorial leadership marked by self-explanatory loquacity which leaves little room for the public to make its own discoveries. If Thai art abandons artistic skills in favour of ideas and concepts in imitation of international fads, it is alienating itself from Thai ethos. October 13th has re-awakened that Thainess, and even art students reacted fast enough to commemorate the departure of our royal “father”. You must give your own best, individually or collectively, to mourn the passing away of your beloved Rama IX.  

                It may be possible also to speak of a reawakening in the literary field after October 13th. The old belief that ours is a poetic nation steeped in the habit of singing, dancing and music-making (Rong-Ram-Thamphleng) has in recent years been stifled by the digital craze of surfing the net via the smartphone. Literature and orality used to belong together, and the ability to express oneself in verse, marked by improvisational fluency, is thought to have been lost for good. Not so! October 13th has rekindled that dormant poetic fervour which does not have to rely solely on the traditional media, such as print, radio or television, anymore. The social media abound in poetic contributions – of varying qualities, of course – but not bereft of deeply felt emotions. Lamentation as a poetic genre is on the rise. Memories of the fatherly kindness of the late King, exemplified through his concrete involvements in the lives of the common folk, find expression in verse form, enhanced by a reaffirmation that his benign actions of various kinds will be emulated and continued. A poetic renaissance is afoot – in an age which, globally, has become “prosaic” in every sense of the word. Whereas the awarding of the Noble Prize in Literature of the year 2016 to Bob Dylan might be considered a deliberate salvage operation by harking back to the song as a vehicle of poetry, mourning the departed monarch by way of poetry in this South East Asian land is a spontaneous act of creativity. The only regret is that those song writers mentioned above have not been able to benefit from this literary renaissance. What a strange myopic parochialism!

            Viewed against a broader look at the contemporary literary scene, with its formal novelistic experimentalism, its imaginative exuberance in the genre of fanfiction (predominantly online), its popular sentimental narrative overloaded with domestic pettiness that serves as a prop for soap operas (which, alas, have mostly become a most successful Thai export to Asian countries), this poetic resurrection is a singular phenomenon whose long-term effect cannot as yet be gauged. Can Thailand become once more a poetic El Dorado that captured the attention of foreign visitors to Ayutthya in the 17th century?    

                The urge towards “singing, dancing and music-making” should have provided a fertile ground for the musical theatre, but the fact remains that our contemporary composers and dramatists have not yet been able to capture the ethos of Thai theatricality and the sumptuous and costly productions of “musicals” have not succeeded in freeing themselves from the Western model. At the opposite pole of these theatrical extravaganzas is the rise of the small theatre, very much akin to the German counterpart of Zimmertheater (literally “chamber theatre”). Growing up during the heyday of democracy between 1973 and 1976, partially under the influence of Bertolt Brecht, it rose again after a hiatus of about 20 years in the late 1980s, notably with the amateur production of The Revolutionist by Kamron Gunadilaka. These small troupes of young progressive thinkers are “amateurs” in the best sense of the word, for most of them have to earn their daily bread by practising various professions, and engage in the theatre for the love of it. They are intellectually far superior to those protagonists of the soap opera and are possessed by political ideals: to create a consciousness for the plight of “the small man” in a predominantly materialistic society. Very soon they graduate from the political to the philosophical theatre, reinterpreting Buddhism in a way that social consciousness and philosophical awareness can merge. I have called them “the Lean Theatre” (Lakhon Phom), lean in budget and material resources, but ambitious in their quest for a better society. It is not only in the spoken theatre that they distinguish themselves; their dance theatre, drawing both from traditional Thai masked drama and Western-style modern dance, is just as thought-provoking. Over the years, these amateurs have acquired such theatrical skills that they are ready to tackle any theatrical form, and even their excursion into the “musical” has proved to be just as successful because of their sense of mission. Needless to say that some of them have become known abroad. However far they have travelled from the originating conditions, they have not forgotten their mission of pricking their compatriots’ conscience vis-à-vis “the small man”.

            Radical political scientists normally pitch them on the opposite side of the conservatives and the “monarchists”. But let us face it, King Bhumibol too cared for the plight of “the small man”. He had first-hand experience and never resorted to just giving alms, but encouraged the small man, with basic resources and know-how, to become self-reliant through laborious but gainful employment. Those hilltribes who come a very, very long distance and file into the Royal Palace to pay respects to their beloved “Royal Father” (Pho Luang) now lying in state represent the small man, the target of the theatrical as well as monarchical aspirations. Amazing Thailand, indeed!        

            We have so far dealt with the issue of how the King’s departure has unleashed an unprecedented artistic creativity of various kinds that is tantamount to a wonder. It has to be assumed that deep faith in His Majesty must have already been steeped in the heart and spirit of the Thai people for so long. Another facet of the phenomenon we have witnessed is perhaps a comforting realization that we are basically an artistically endowed nation that can best externalize our heartfelt emotions via works of art. It would be naïve to conclude that there has been no, or little, artistic expressions of faith in our King prior to October 13th. The fact is that we perhaps take them for granted or do not notice them. A film like “Loyally Yours” (Duay Khlao) dates as far back as 1987. As mentioned earlier, works of art or exhibitions created or organized after October 13th cannot always presume upon artistic excellence, which is not really the crux of the matter. There is another aspect of the relationship between the King and his people that warrants careful analysis. As His Majesty could express himself through various art forms, music being perhaps the most prominent, does it follow that he himself inspired artistic creativity among his subjects? This naturally goes beyond the role of a patron of the arts, but has to do with the leadership provided by the monarch, in the same way as his august ancestor, King Rama II. It is a question to be kept in mind and may not require an immediate answer.

            What is of utmost importance is the continuity that we should feel justified to expect from the present creative fervour following October 13th. To use the jargon prevalent in our contemporary society: Can we reckon with a kind of “sustainability” with regard to the present artistic renaissance? As a teacher and educator, I am not inclined to let things take their own natural course. Cultural policy, especially an action-oriented one, should capitalize on the artistic awakening of the Thai people at present. Let us see to it that the fire of faith in our late King remain inextinguishable. This may be easier said than done. There may be no better way to vest the current upsurge of artistic creation with more permanent attributes than integrating this consciousness into the educational process. Fleeting eulogies, lamentations and panegyrics have no permanent value. At this juncture, it must be said that there is no avoiding of the separation of the wheat from the chaff, and an evaluative act of selecting exemplary artworks inspired by our great King for the purpose of education has to be undertaken. We shall have to make great efforts to explain appropriately to posterity how the good work of a good king can serve as an impetus to his subjects to become creative in various ways: creating inspired and inspiring works of art is one of them. The passage from mourning to positive thinking, then to creative act, is what education can cultivate. Mourning becomes the Thai people, because it does not stop there.

19 December 2016

(Rev. 24 January 2017)

 

ภาพพลังของแผ่นดิน

Strength of the Nation by Chairat Sangthong

(Reproduced with the kind permission of the artist and Kasikornbank)

พลังของแผ่นดิน  โดย ชัยรัตน์  แสงทอง

(ภาพด้วยความอนุเคราะห์ของศิลปิน และธนาคารกสิกรไทย)

 

พระราชาพาให้ศิลปะเกิดใหม่*

 

เจตนา  นาควัชระ

 

          การเขียนประวัติศาสตร์แบบไทยในบ้างครั้งใช้วิธีการแบ่งยุคสมัยตามรัชกาล  วิธีที่ว่านี้อาจใช้ได้กับประวัติศาสตร์การเมือง  แต่เมื่อนำมาใช้กับศิลปะ  ระบบดังกล่าวอาจเป็นกรอบที่ใช้ไม่ได้ง่ายนัก  ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อยกเว้นดังเช่นในกรณีที่พระราชาพระองค์หนึ่งพระองค์ใดทรงสร้างอิทธิพลอันใหญ่หลวงไว้กับการสร้างสรรค์ศิลปะในรูปแบบต่างๆ  ดังเช่นในกรณีของรัชกาลที่ 2  ผู้ทรงความเป็นผู้นำทั้งในด้านวรรณศิลป์  ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง  เมื่อปี 2539  ศิลปิน  นักวิชาการด้านศิลปะ  และภัณฑารักษ์กลุ่มหนึ่งได้ตัดสินใจที่จะรวมตัวกันจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ในหัวข้อ “ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9”  โดยมีการจัดพิมพ์สูจิบัตรเป็นชุดรวม 3 เล่มออกมา  โดยที่ผู้เขียนได้รับเชิญให้เสนอบทความที่ชื่อว่า “กาญจนาภิเษกกับห้าทศวรรษแห่งทัศนศิลป์ไทย”  20 ปีผ่านไป  นิทรรศการดังกล่าวยังมีให้ชมได้ทางอินเทอร์เน็ต  โดยมีการเพิ่มเนื้อหาขึ้นอีก 1 ทศวรรษ  นิทรรศการครั้งนั้นมุ่งที่จะสร้างงานอันเป็นราชพลี  และก็มิได้มีผู้ใดสงสัยว่าการจัดแบ่งยุคดังกล่าวพ้องกับทิศทางของศิลปะไทยโดยองค์รวมหรือไม่

          เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13  ตุลาคม 2559  เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของศิลปะไทยที่ไม่เคยมีมาก่อนและก็อาจจะไม่มีซ้ำอีก  การเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักของปวงชน  มิใช่จุดสิ้นสุดของยุค  อย่างน้อยมิใช่จุดสิ้นสุดในด้านของศิลปะอย่างแน่นอน  ในทางตรงกันข้าม  นั่นเป็นจุดที่ทำให้เกิดการแสดงออกทางศิลปะในทุกรูปแบบ  จากทุกถิ่นทุกที่  โดยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ  ทั้งในระดับบุคคลและระดับหมู่คณะ  ไม่มีการแบ่งแยกอีกต่อไปว่า ใครเป็นศิลปินอาชีพ ใครเป็นผู้รักสมัครเล่น  “พระองค์ท่านเป็นพระราชาของเรา  พระราชาของฉัน  ฉันจะแสดงความอาดูรต่อพระองค์ท่านด้วยวิธีของฉันให้เป็นที่ประจักษ์ต่อเพื่อนร่วมชาติและต่อประชาคมนานาชาติด้วย”  สื่อแบบประเพณีไม่อาจรองรับการแสดงออกนี้ได้อย่างเต็มที่  แต่สื่อสังคมยุคใหม่เป็นตัวเชื่อมที่ใช้ได้ง่ายที่สุดและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางที่สุด  และเมื่อพระผู้สืบราชบัลลังก์ทรงแสดงความปรารถนาที่จะชะลอการเสด็จขึ้นครองราชย์เพื่อที่จะได้มีเวลาที่จะทรงแสดงความโทมนัสต่อการสูญเสียสมเด็จพระราชบิดา  พระราชประสงค์ของพระองค์ท่านก็ดูจะพ้องกับความรู้สึกของประชาชนคนไทยโดยทั่วไป  ดินแดนแห่งนี้  ซึ่งไม่กี่ปีมานี่เองเกือบจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ไปแล้ว  ก็กลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งในการแสดงออกซึ่งความอาลัย  เป็นการเหมาะแล้วที่คนไทยเรารู้จักโศกเศร้าร่วมกัน

          ในเมื่อเรากำลังพูดถึงเรื่องของศิลปะ  ประเด็นที่ว่าด้วยคุณภาพของงานย่อมเป็นเรื่องที่ต้องได้รับพิจารณา  อารมณ์ความรู้สึกที่เข้มข้นจะแปรสภาพเป็นแรงดลใจได้ก็ต่อเมื่อผู้สร้างงานในสาขาต่างๆ มีฝีมือที่จะรองรับอารมณ์นั้นๆ   ผู้ไร้ฝีมือก็จะแสดงออกได้แต่เพียงในรูปของการวางทีท่าหรือแสดงอารมณ์ดิบๆ ที่เกินขอบเขตอันควร  ลองดูงานด้านดนตรีสากลเป็นตัวอย่าง  ช่วงหลังวันที่ 13 ตุลาคมมีการแสดงออกด้วยดนตรีอย่างมากมาย  ผู้ฟังแต่ละคนก็แทบจะเต็มอิ่มอยู่แล้ว  แต่ก็น่าจะวินิจฉัยได้ว่าอะไรเป็นอะไร  อยู่ในระดับไหน  ดนตรีที่แสดงนั้นมีประเภทหลักๆ อยู่ 2 ประเภท คือ หนึ่ง  เพลงพระราชนิพนธ์ และสอง  เพลงที่แต่งขึ้นถวายเป็นราชพลี  การแสดงทั้ง 2 ประเภทโดยทั่วไปแสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องทางด้านคีตศิลป์อย่างเลี่ยงไม่ได้  และก็อาจจะเป็นตัวชี้วัดให้เห็นถึงสภาพปัญหาของวงการดนตรีสมัยใหม่ของไทยในวงกว้าง   ครั้งหนึ่งเพลงไทยสากลเคยเป็นแหล่งที่กวีและนักแต่งเพลงร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการรังสรรค์งานระดับแนวหน้าที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทั้งในด้านของวรรณศิลป์และคีตศิลป์  ผู้แต่งเนื้อร้องส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันไม่รู้ว่าวรรณศิลป์คืออะไร  ในขณะที่นักร้องภาคภูมิใจว่าพวกเขาสามารถบิดภาษาไทยให้มีสำเนียงของภาษาตะวันตกได้อย่างฉมัง  นักแต่งเพลงโดยเฉพาะประเภทป๊อบและร็อคส่วนใหญ่ไม่อยู่ในฐานะที่จะเข้าถึงอารมณ์ส่วนลึกได้  และก็ย่อมจะแสดงออกซึ่งอารมณ์ในลักษณะนั้นไม่ได้  ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและดนตรีอาเซียนที่เรารู้จักกันดีไม่ลังเลที่จะให้ข้อวินิจฉัยว่า  ในบรรดารายการดนตรีทั้งหลายทั้งปวงนั้น  กลุ่มนักร้องและนักดนตรีลูกทุ่งเสนอผลงานที่มีคุณภาพดีที่สุด  ถึงกระนั้นผู้เขียนก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า  การถวายความจงรักภักดีด้วยการหลั่งน้ำตาพร้อมอาการฟูมฟายนั้นอาจเกินพอดีไป  ในท้ายที่สุดโอกาสนี้คงมิใช่โอกาสที่จะใช้วัฒนธรรมของการวิจารณ์อย่างเคร่งครัดนัก  ในโลกของสื่อสังคม  มีนักดนตรีระดับแนวหน้าผู้หนึ่งออกมาเรียกร้องให้มีการผ่อนปรนกันบ้าง  เพราะเราควรให้โอกาสผู้คนได้แสดงความอาลัยต่อการจากไปของพระราชาตามความถนัดของแต่ละบุคคล

          ในทางที่กลับกัน   ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ย่อมรู้จักที่จะผันอารมณ์เข้าไปอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ  แล้วเรียกกลับมาได้ในยามสงบ  (ดังที่กวีชาวอังกฤษ  วิลเลียม  เวิดสเวิรธ [William Wordsworth] ได้กล่าวไว้)  จากนั้นก็จะสามารถค้นพบการแสดงออกที่สร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้รับโดยรักษาความพอเหมาะพอดีเอาไว้ได้  (นักเขียนนวนิยายผู้ยิ่งใหญ่ขาวฝรั่งเศส  กุลตาฟ  โฟล์แบรต์ [Gustave Flaubert] เคยกล่าวไว้ว่า  เขาหลั่งน้ำตาไปมากกับละครประเภทฟูมฟาย  แต่โศกนาฏกรรมเอกของมหากวีเกอเธไม่ทำให้เขามีปฏิกิริยาทางอารมณ์แบบนั้นเลย)  ในส่วนที่เกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์นั้น เราจะต้องยอมรับว่างานต้นแบบที่ทรงคุณค่าเอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องได้  และ 70 ปีที่ผ่านไปเป็นประจักษ์พยานได้ว่า  มีผู้นำเพลงพระราชนิพนธ์เหล่านี้ไปเรียบเรียงในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์  และงานเหล่านี้สามารถสร้างความมั่งคั่งทางคุณค่าให้แก่องคนิพนธ์ดั้งเดิมได้  ขอยกตัวอย่างเพลง “อาทิตย์อับแสง”  ซึ่งอดีต ฯพณฯ องคมนตรี ม.ล. อัศนี  ปราโมช  เรียบเรียงขึ้นนั้น  ถือได้ว่าไพเราะอยู่แล้ว  แต่ในช่วงหลังวันที่ 13  ตุลาคม  ฉบับที่เรียบเรียงสำหรับวงดนตรีคลาสสิกฉบับนี้จับใจผู้ฟังยิ่งนัก  ด้วยเหตุนี้ วันที่ 13  ตุลาคม จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นใหม่  เพลงแห่งความอาดูรได้สร้างมิติใหม่ขึ้นมา  เช่นเดียวกับเพลงรำลึกถึงผู้จากไป (Requiem) ของ โยฮันเนส  บราห์มส์ (Johannes Brahms)  ที่มิได้แต่งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเท่านั้น  แต่ยังทำหน้าที่ให้ความหวังต่อผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ด้วย

          ถ้าจะหันไปพิจารณาทัศนศิลป์บ้าง  เราก็มิอาจมองข้ามปราการอันแข็งแกร่งของศิลปะไทยแบบประเพณีได้  นั่นคือ รูปเคารพ  ประติมากรรม  และในระดับหนึ่งจิตรกรรม แต่เดิมทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  การเปลี่ยนผ่านจากประติมานวิทยาทางศาสนาไปสู่รูปแบบของประติมานวิทยาที่มิใช่ศาสนาใช่ว่าจะปราศจากปัญหา  ประวัติศาสตร์ไทยมีประวัติของการทำลายรูปเคารพอยู่บ้างเช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ตะวันตก  เราคงจะไม่ลืมเหตุการณ์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในช่วงที่การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองดำเนินไปอย่างรุนแรง  จนถึงขั้นที่ชาวบ้านบางกลุ่มถูกล้างสมองให้ปลดพระรูปของพระราชาออก  และทดแทนด้วยรูปใหม่ของผู้นำทางการเมืองในขณะนั้นที่สมมุติตัวเองขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์  โชคดีที่ทัศนศิลปินไทยอาจยังมีความเป็นอนุรักษ์นิยมอยู่และไม่พร้อมที่จะถูกล้างสมองตามไปกับเขาอื่น!  ความหมกมุ่นของศิลปินส่วนใหญ่ดูจะเป็นไปในทางของการเดินให้ทันกระแสใหม่ระดับนานาชาติที่เบี่ยงเบนไปจากสัจนิยม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างภาพเหมือน   เราคงต้องยอมรับโดยดุษณีว่า  นิทรรศการ “อัครศิลปินเหนือเกล้า” (เริ่มวันที่ 5 ธันวาคม 2559)  เป็นประจักษ์พยานที่โต้แย้งได้ยากว่า  การเดินทางกลับไปสู่สัจนิยมในหมู่จิตรกร  อันรวมถึงจิตรกรอาวุโส  เป็นไปได้ยากมาก  อันที่จริง รัชกาลที่ 9   ในฐานะที่ทรงเป็นศิลปิน  ก็ทรงมีบทบาทเช่นกันในกระบวนการผ่อนคลายจากการรัดรึงของสัจนิยม  โดยเฉพาะในเรื่องของภาพเหมือน (ซึ่งก็เป็นไปในแนวเดียวกับที่พระองค์ทรงเตือนมิให้สังคมไทยผูกติดอยู่กับความเชื่อเก่าๆ  ในเรื่องของ “The king can do no wrong” [ทรงใช้ข้อความภาษาอังกฤษนี้ในพระราชดำรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2548])

          ผู้เขียนใคร่ขออ้างถึงนิทรรศการ “ภาพของพ่อ : บารมีแห่งแผ่นดิน” ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจัดขึ้นเมื่อปี 2552  ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการที่ศิลปะไทยพยายามจะแสวงหาทางสายกลางระหว่างการสร้างภาพเหมือนแบบดั้งเดิมกับการเบี่ยงเบนอันเป็นทิศทางใหม่  มองในแง่บวกข้อขัดดังกล่าวผลักดันให้ทัศนศิลป์ไทยพัฒนาไปในทิศทางที่สนับสนุน “สังคมแห่งการตีความ”  อันหมายถึงสังคมแห่งความคิด  ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวถึงผลงานจิตรกรรมที่ชื่อ “พลังของแผ่นดิน”  โดยชัยรัตน์  แสงทอง  (ดูภาพประกอบข้างต้น) ซึ่งเป็นงานประเภทสัจนิยมที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนคนธรรมดากับกษัตริย์ด้วยวิธีการที่ไม่ตรงไปตรงมา  ธนบัตรใบละ 20 บาทในภาพนี้มีคุณค่าเกินกว่ามูลค่าของมันมากนัก  ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องของคุณค่าทางจิตวิญญาณและทางศีลธรรม  ภาพนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของมโนทัศน์ที่แข็งแกร่งอย่างแน่นอน

          คำว่า “มโนทัศน์” ชวนให้คิดถึงวงการศิลปะในปัจจุบันที่เปี่ยมด้วยคุณลักษณะของการแสวงหา ความเป็นปัญญาชน  ความใส่ใจในเรื่องของการทดลอง  และความจงใจที่จะทำให้งานศิลปะยากแก่การเข้าใจ  ทัศนศิลป์ในระดับนานาชาติเป็นสาขาของการสร้างสรรค์ที่นำทางในด้านของนวัตกรรมทางความคิด  และศิลปินของไทยเราก็ไม่เคยตกยุค  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “ศิลปะเน้นแนวคิด” (conceptual art)  ศิลปินแนวหน้าของไทยร่วมเดินไปกับกระแสนี้และสามารถสร้างงานที่กระตุ้นความคิดขึ้นมาได้อย่างแน่นอน  เช่นเดียวกับศิลปะนามธรรมซึ่งเป็นสาขาที่ผู้สร้างงานของไทยได้แสดงฝีมือให้ประจักษ์เห็น  ในด้านของศิลปะจัดวางเราก็ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ  ในนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 12  เมื่อปี 2550 ศิลปินไทยเสนอผลงานที่ใหญ่ยิ่งในรูปของผืนนาขั้นบันได (ผู้เขียนได้ไปชมนิทรรศการด้วยตนเอง  และก็เห็นใจเจ้าภาพที่ไม่สามารถหาน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้อย่างเพียงพอ)  สำหรับศิลปะส่วนร่วม (participatory art)  ก็จัดได้ว่าเป็นการให้โอกาสแก่ศิลปินไทยที่จะคิดใหม่  เป็นที่น่าสังเกตว่าประชาคมนานาชาติอาจจะรู้จัก “ผัดไทย”  จากผลงานทางศิลปะดีกว่าการได้ลิ้มรสอาหารอันโอชะจากร้านอาหารไทยซึ่งมีอยู่ทั่วไปในต่างประเทศ  สำหรับ “ศิลปะมุ่งแสดง” (performance art) นั้น  แม้แต่ดาวเด่นระดับนานาชาติ เช่น มารีนา อะบรามโมวิช (Marina Abramović) ก็ยังไล่ตามศิลปินไทยไม่ทันในเรื่องของการนำความตายมาเป็นเนื้อหาของศิลปะ  เราไม่เคยอับจนในด้านของการคิดใหม่  แม้แต่กระแส “ศิลปะไทย” ก็มีศิลปินที่สามารถจับสถาปัตยกรรมมารำละครได้

          การทดลองล่าสุดในด้านของ “ศิลปะพึ่งสื่อ” (media art) มีความหลากหลายมาก และในกรณีนี้เราไม่อาจมองข้ามปัญหาที่เกิดขึ้นได้  นั่นก็คือ  ศิลปินเริ่มขาดความจัดเจนในทางเทคนิคที่จะสร้างสรรค์งานตลอดกระบวนการ  และก็ผันตัวไปทำหน้าที่เยี่ยงสถาปนิกผู้ออกแบบ  วิธีการเช่นนี้ข้ามแดนกลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแบบประเพณีเช่นกัน    ดังจะเห็นได้จากจิตรกรรมและการวาดเส้น  ซึ่งศิลปินทำหน้าที่เป็นเพียงภัณฑารักษ์  ในขณะที่ตัวงานศิลปะนั้นเป็นผลผลิตของ “ช่าง”  ซึ่งเข้ามารับหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยศิลปิน  ในยุคปัจจุบันภัณฑารักษ์มีบทบาทในเชิงผู้นำสูงมาก  และก็มักอาสาเข้ามาอธิบายงานศิลปะโดยพิสดารเสียจนมหาชนแทบไม่มีโอกาสที่จะได้แสวงหาความหมายด้วยตัวเอง   ถ้าศิลปะของไทยหันหลังให้กับความจัดเจนในทางฝีมือ  โดยมุ่งเน้นความคิดและมโนทัศน์ตามกระแสนานาชาติแล้วละก็  ถือได้ว่าเรากำลังแปลกแยกออกจากแก่นของวัฒนธรรมทางศิลปะของไทย    วันที่ 13  ตุลาคม  ทำให้เราฟื้นความเป็นไทยกลับมาได้  และแม้แต่นักศึกษาศิลปะก็สร้างงานที่น่าประทับใจขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว  เพื่อที่จะบูชาอาลัยพระราชาผู้เป็นเยี่ยงพระบิดาของพวกเรา  ในกรณีนี้  ศิลปินต้องถวายงานที่ดีที่สุดของตนเป็นราชพลี  ไม่ว่าจะในระดับบุคคลหรือในระดับหมู่คณะ  เพื่อน้อมรำลึกถึงรัชกาลที่ 9  ผู้ทรงเป็นที่รักของปวงชน

           ในส่วนของวรรณศิลป์ก็อาจกล่าวได้ว่ามีการฟื้นตัวขึ้นเช่นกัน  ความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าเราเป็นชนชาติที่เจนจัดในเรื่องของร้องรำทำเพลง ได้ถูกกลบไปเสียด้วยอุปนิสัยมักง่ายที่ทำได้แค่ถูไถนิ้วมือไปบนสมาร์ตโฟนเพื่อท่องไปในโลกของอินเทอร์เน็ต  ดูประหนึ่งว่าวรรณศิลป์กับขนบมุขปาฐะที่เคยอยู่ร่วมกันเป็นเอกภาพ  อันรวมถึงความสามารถในการแสดงออกด้วยร้อยกรองอย่างแคล่วคล่องนั้น  เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว  โชคดีที่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่  วันที่ 13  ตุลาคมได้จุดประกายให้วิญญาณแห่งวรรณศิลป์ได้ฉายแสงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  มิใช่ด้วยสื่อที่คุ้นๆกันอยู่แต่เดิม  เช่น  สิ่งพิมพ์  วิทยุ  หรือโทรทัศน์เท่านั้น  แต่สื่อสังคมออนไลน์ก็เต็มไปด้วยงานทางวรรณศิลป์ (ซึ่งคุณภาพอาจไม่คงที่  แต่มิได้ขาดอารมณ์ความรู้สึกจากส่วนลึก)  การแสดงออกซึ่งความอาดูรด้วยรูปแบบทางวรรณศิลป์กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง  ความทรงจำที่เกี่ยวกับพระราชาผู้มีพระเมตตาเยี่ยงพ่อ   อันเห็นได้จากการที่พระองค์ได้ทรงมีส่วนร่วมในชีวิตของคนธรรมดาสามัญ  ได้รับการแสดงออกในรูปของร้อยกรอง  อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสืบทอดกิจอันเปี่ยมด้วยน้ำพระทัยของพระราชา  การฟื้นฟูวรรณศิลป์ได้เริ่มขึ้นแล้วในยุคที่โลกได้ถอยห่างออกไปจากความเป็นวรรณศิลป์มากขึ้นทุกที  การที่ราชบัณฑิตยสภาแห่งสวีเดนได้ตัดสินใจมอบรางวัลโนเบล  สาขาวรรณศิลป์ให้แก่ บอบ  ดีแลน (Bob Dylan)  อาจถือได้ว่าเป็นความพยายามที่จะกู้สถานการณ์ด้วยการย้อนกลับไปหาบทบาทของเพลงในฐานะเครื่องแสดงออกถึงวิญญาณแห่งวรรณศิลป์   แต่สำหรับแดนสุวรรณภูมิของเรานั้น  ความอาลัยที่มีต่อการเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระราชาเป็นการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่เป็นธรรมชาติ  น่าเสียดายที่นักแต่งเพลงที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงในตอนต้นไม่รู้จักใช้การฟื้นฟูวรรณศิลป์ในครั้งนี้ให้เป็นประโยชน์  ด้วยเหตุใดเล่าที่พวกเขายังติดอยู่กับการมองโลกอันคับแคบโดยปราศจากทัศนะอันกว้างไกล

          ถ้าจะมองโลกของวรรณศิลป์ไทยในวงกว้าง  เราก็จะสังเกตได้ว่ามีการเขียนเชิงทดลองในรูปของ
นวนิยาย  มีความตื่นตัวในด้านของการใช้จินตนาการในแฟนฟิค  โดยเฉพาะผ่านโลกเสมือน  สำหรับนิยายยอดนิยมจำนวนมากนั้นก็ยังหมกมุ่นอยู่กับประเด็นเล็กๆ ในระดับครอบครัว  ซึ่งได้กลายเป็นอาหารอันโอชะของละครน้ำเน่าทางโทรทัศน์  ที่ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกอันประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย  ถ้าภาพรวมเป็นเช่นนั้น  การฟื้นคืนชีพของกวีนิพนธ์จึงเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์อันโดดเด่นที่เรายังมิอาจมองเห็นผลกระทบในระยะยาวได้  ไทยเราจะกลับไปเป็นสุวรรณภูมิแห่งวรรณศิลป์อีกครั้งหนึ่งได้หรือไม่  ซึ่งครั้งหนึ่งแดนทองดังกล่าวได้สร้างความตื่นเต้นให้แก่อาคันตุกะจากตะวันตกมาแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17

สัญชาตญาณแห่งการร้องรำทำเพลงน่าจะเป็นขุมทรัพย์อันอุดมที่ก่อให้เกิดละครเพลงที่ดีได้  แต่ความจริงปรากฏว่า  นักแต่งเพลงและผู้เขียนบทละครในยุคปัจจุบันไม่สามารถเข้าถึงแก่นของความเป็นละครของชนชาติไทยได้  และละครเพลงอันสุดหรูที่ต้องลงทุนมหาศาลก็ไม่สามารถที่จะปลดแอกจากอิทธิพลตะวันตกได้เช่นกัน  ในทางที่ตรงกันข้ามกับความฟุ้งเฟ้อของละครเพลงที่กล่าวมานี้  เราก็เห็นการก่อกำเนิดของกลุ่มละครเล็กๆ  ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับละครเยอรมันที่เรียกว่า “ละครสำหรับเล่นในห้อง” (Zimmertheater)  ละครรูปแบบใหม่ที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในยุคทองของประชาธิปไตยในช่วง พ.ศ. 2516-2519  โดยรับอิทธิพลบางส่วนจากแบร์ทอลท์  เบรชท์ (Bertolt Brecht)  และก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่ขาดหายไปเกือบ 20 ปี  โดยมีละครเรื่อง “คือผู้อภิวัตน์”  ของคำรณ  คุณะดิลก  เป็นตัวจุดประกาย  คณะละครเล็กๆ เหล่านี้ประกอบด้วยหนุ่มสาวผู้ช่างคิด คือเป็น “ผู้รักสมัครเข้ามาเล่น”ในความหมายที่ดีที่สุดของคำว่า “amateurs” ทั้งนี้เพราะพวกเขาส่วนใหญ่ยังต้องหาเลี้ยงตนเองด้วยอาชีพต่างๆ  แต่สมัครเข้ามาทำละครด้วยใจรัก  ในด้านของสติปัญญา  พวกเขาอยู่เหนือกลุ่มละครน้ำเน่ามาก  และก็ดูจะเป็นผู้ที่มีอุดมคติทางการเมือง  นั่นก็คือ  ต้องการสร้างความสำนึกที่จะผลักดันให้สังคมคิดถึงชะตากรรมของคนตัวเล็กๆ ในสังคมที่วัตถุนิยมเป็นใหญ่  ไม่ช้าไม่นานพวกเขาก็ปรับละครทางการเมืองขึ้นสู่ระดับของละครปรัชญาได้  โดยปรับความคิดแนวพุทธให้เอื้อต่อความสำนึกทางสังคมและความตื่นตัวทางปรัชญาไปพร้อมกัน  ผู้เขียนเรียกละครเหล่านี้ว่า “ละครผอม”  คือผอมในด้านของการเงิน  ขัดสนในด้านของทุนรอน  แต่มีความทะเยอทะยานในด้านที่จะสร้างสังคมที่ดีกว่านี้  พวกเขามิได้จัดเจนแต่เฉพาะในด้านของละครพูดเท่านั้น  แต่ในระยะหลังนี้  นาฏศิลป์แบบใหม่ที่รู้จักในนามของ dance theatre  ซึ่งฉลาดพอที่จะเรียนรู้จากนาฏศิลป์ไทยแบบประเพณีเช่นโขน  รวมทั้งบัลเลต์สมัยใหม่ของตะวันตก  แล้วหลอมรวมกันเข้าเป็นการแสดงที่ชวนคิด  เมื่อเวลาผ่านไป  ผู้รักสมัครเล่นเหล่านี้ก็สร้างความจัดเจนในด้านละครให้แก่ตนเอง  จนสามารถที่จะสนองละครรูปแบบใดก็ได้  และแม้แต่การที่พวกเขาหาญเข้าไปทำละครเพลงแนว musical ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน  เพราะเขารู้ว่าต้องการจะไปในทิศทางใด  ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า  พวกเขาบางคนเป็นที่รู้จักดีในต่างประเทศ  ไม่ว่าพวกเขาจะพัฒนาตนเองไปไกลจากจุดเริ่มต้นเพียงใด  เขาก็ไม่เคยลืมหน้าที่ดั้งเดิมในการที่จะกระตุ้นเตือนให้เพื่อนร่วมชาติสำนึกอยู่เสมอถึงชีวิตของคนตัวเล็กๆ

นักรัฐศาสตร์หัวรุนแรงมักจะวางตัวศิลปินพวกนี้ไว้ในฝั่งตรงกันข้ามกับอนุรักษ์นิยมและพวกที่ถูกกล่าวหาว่านิยมเจ้า  แต่ขอให้เราจงรับความจริงว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ก็ทรงห่วงใยในชะตากรรมของ “คนตัวเล็กๆ ” เช่นกัน  พระองค์ทรงมีประสบการณ์ตรง  และมิได้ทรงทำแต่การโปรยทาน  แต่ทรงสนับสนุนคนตัวเล็กๆ เหล่านี้ด้วยการพระราชทานทรัพยากรพื้นฐานและความจัดเจนทางเทคนิค  ซึ่งเอื้อให้พวกเขาช่วยตนเองได้ด้วยการทำงานหนักอันเป็นสัมมาอาชีวะ  พวกชาวเขาซึ่งเดินทางมาไกลมากเพื่อถวายบังคมพระบรมศพ “พ่อหลวง” เป็นตัวแทนของ “คนตัวเล็กๆ”  ซึ่งก็เป็นทั้งจุดหมายปลายทางของกระบวนการเยียวยาด้วยศิลปะการละครและด้วยโครงการหลวง  คำคมที่เราใช้ชักชวนนักท่องเที่ยวคือ “Amazing Thailand” น่าจะใช้กับปรากฏการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นได้ด้วย

เราได้เห็นแล้วว่า  การเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 9  ได้ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทางศิลปะในรูปแบบต่างๆ  อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน  ในระดับที่อาจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์  เป็นที่อนุมานได้ว่าความศรัทธาที่มีต่อพระองค์ท่านคงจะฝังอยู่ในจิตวิญญาณของคนไทยมาเป็นเวลานาน  อีกมิติหนึ่งของปรากฏการณ์ที่เราได้เห็นประจักษ์ชัดก็คือ  การสำนึกได้ว่า  โดยเนื้อแท้แล้ว เราเป็นชาติที่มีศักยภาพในทางศิลปะ  และเราสามารถที่จะนำความรู้สึกเบื้องลึกออกมาเผยแสดงในรูปของงานศิลปะได้  คงจะไม่มีใครที่ตื้นเขินพอที่จะเหมารวมเอาว่าการแสดงออกเชิงลึกด้วยศิลปะมีน้อยมากหรือไม่มีมาเลยในช่วงก่อนวันที่ 13  ตุลาคม  2559 อาจเป็นไปได้ว่า  สิ่งเหล่านี้อยู่กับเราในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยที่เรามองข้ามมันไป  ภาพยนตร์ที่ทรงคุณภาพเช่น “ด้วยเกล้า” ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่  เพราะสร้างขึ้นเมื่อ 30 ปีมาแล้ว  ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  งานศิลปะหรือนิทรรศการศิลปะที่จัดขึ้นหลังวันที่ 13  ตุลาคมนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นงานที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางศิลปะในระดับแนวหน้าในทุกกรณีไป  ซึ่งนั่นไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญที่สุด  แต่ก็มีแง่มุมอื่นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระราชากับพสกนิกรของพระองค์  ซึ่งต้องการการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน  ในเมื่อพระราชาทรงอยู่ในฐานะที่จะแสดงออกด้วยงานศิลปะได้เป็นอย่างดีด้วยพระองค์เอง  โดยเฉพาะในด้านของดนตรี  เราก็สามารถที่จะหาข้อสรุปได้ว่า พระองค์ทรงเป็นแรงดลใจให้เกิดการสร้างสรรค์ทางศิลปะในหมู่คนไทย  ประเด็นนี้เกินเลยไปจากการทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ศิลปะ  แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นผู้นำของกษัตริย์ไทย  เช่นเดียวกับในกรณีต้นพระราชวงศ์  เช่นรัชกาลที่ 2  เราอาจจะเก็บประเด็นเหล่านี้ไว้ในใจโดยที่ยังไม่ต้องหาคำตอบในขณะนี้

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  ความต่อเนื่องในการสร้างสรรค์ที่เราควรจะมีสิทธิ์คาดหวังได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นได้หลังจากวันที่ 13 ตุลาคม  คำที่ใช้กันอยู่เสมอในสังคมร่วมสมัยของเราคือ  “ความยั่งยืน” (sustainability) น่าจะนำมาใช้กับวงการศิลปะได้  ในฐานะที่เป็นครูและเป็นผู้อยู่ในวงการศึกษามานาน  ผู้เขียนไม่พร้อมที่จะปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติ  นโยบายวัฒนธรรม  โดยเฉพาะนโยบายที่ส่งผลเชิงปฏิบัติ  น่าที่จะได้รับอานิสงส์จากกระบวนการเกิดใหม่ในทางศิลปะในหมู่คนไทยในขณะนี้  ขอให้เรารักษาแสงแห่งศรัทธาที่มีต่อพระราชาไว้อย่าให้ดับไปได้  ประเด็นนี้อาจจะพูดง่ายกว่าทำ  ไม่มีหนทางอันใดในการสร้างความถาวรให้แก่การตื่นตัวทางศิลปะครั้งนี้ที่ดีไปกว่าการฝังตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษาอาศิรวาทและความอาลัยอาวรณ์  ถ้าเป็นปรากฏการณ์ที่ผ่านมาแล้วผ่านไป  ก็เป็นสิ่งที่ไร้ค่า  ณ  จุดนี้เราจำเป็นจะต้องรู้จักแยกแก่นออกจากกระพี้  และจะต้องกล้าที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งใดเป็นงานที่ทรงคุณค่าที่น่าจะนำไปปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาของการศึกษา  เราจะต้องรู้จักที่จะให้คำอธิบายอย่างพอเหมาะพอดีให้แก่คนรุ่นหลังรับฟังได้ว่า  กรรมดีของปิยราชาสามารถเป็นแรงกระตุ้นให้พสกนิกรก่อกิจสร้างสรรค์ได้ในหลากรูปแบบ  การสร้างงานศิลปะที่ดลใจคนได้ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง  การเปลี่ยนผ่านจากความอาลัยในองค์พระราชาไปสู่การคิดสร้างสรรค์อันจะนำไปสู่การรังสรรค์งานเป็นสิ่งที่การศึกษาสร้างได้  การที่คนไทยเราอาลัยพระราชาด้วยความจริงใจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  แต่เราจะมิได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น

 

19 ธันวาคม 2559

(แก้ไขปรับปรุง 24 มกราคม 2560)

———————————-

*แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับของผู้เขียนเองชื่อ “Mourning Becomes the Thai People: October 13th and an Artistic Renaissance”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *