เปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรม “ค่ายการวิจารณ์”

_ค่ายการวิจารณ์ศิลปะ.jpg_              

ดาวน์โหลดใบสมัคร คุณสมบัติ

ดาวน์โหลดใบสมัคร คุณสมบัติword97-2003

                 โครงการวิจัย “การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเทอร์เน็ต” เปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรม “ค่ายการวิจารณ์ศิลปะ” ใน 5 สาขา ศิลปะ (ทัศนศิลป์) วรรณศิลป์ (วรรณรรม) สังคีตศิลป์ (ดนตรีไทย) ศิลปะการละคร (ละครเวที) และภาพยนตร์ โดย  ศาตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชะ ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญแยกตามสาขา คุณวรเทพ อรรค คุณอุทิศ เหมะมูล  อ.กิตติ คงตุก   คุณพงศ์พันธ์ ประภาศิรัลักษณ์ “KING LEAR” และคุณอลงกต ใหม่ด้วง “กัลปพฤกษ์” ในวันเสาร์ที่ 2 และวันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน 2556 ที่อิงธารรีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ได้รับเลือกเข้าร่วมการอบรม

หลักการและที่มาของปัญหา

          โครงการ ค่ายการวิจารณ์ศิลปะเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการวิจารณ์ที่พบในแต่ละสาขาจากการวิจัยเรื่อง การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับวัฒนธรรมสื่ออินเทอร์เน็ต” มาปรับกระบวนการเพื่อสร้างให้เกิดการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ต่อไป กล่าวคือ สาขาดนตรีไทยเกิดการขาดแคลนผู้วิจารณ์ลายลักษณ์ สาขาการละครมีผู้วิจารณ์จำนวนน้อย ขณะที่การวิจารณ์สาขาทัศนศิลป์มักจะปรากฏในรูปแบบมุขปาฐะ และมีผู้เขียนงานวิจารณ์จำนวนมากในสาขาวรรณศิลป์และภาพยนตร์ แต่ประสบปัญหาในเรื่องประสบการณ์และวุฒิภาวะของผู้วิจารณ์ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังค้นพบด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้สร้างงานวิจารณ์ข้ามสาขาเพิ่มมากขึ้น แต่ขาดแหล่งที่จะเรียนรู้อย่างเป็นระบบและแบบแผน

          ด้วยเหตุนี้ โครงการวิจัยฯ จึงได้จัดกิจกรรม ค่ายการวิจารณ์ศิลปะขึ้น เพื่อเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้แก่ผู้สนใจในการวิจารณ์รุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สร้างงานบนสื่ออินเทอร์เน็ต โดยให้ความรู้การวิจารณ์ทั้งเฉพาะสาขาและข้ามสาขาขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างพลังการวิจารณ์มิติใหม่ในสังคม

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเผยแพร่ความรู้การวิจารณ์ในสาขาต่างๆ แก่ผู้สนใจการวิจารณ์รุ่นใหม่ที่เน้นใช้พื้นที่อินเทอร์เน็ตในการสร้างงาน

2.       เพื่อปูพื้นฐานแนวความคิดและการวิจารณ์ข้ามสาขา

3.       ส่งเสริมการวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์บนพื้นที่อินเทอร์เน็ต

                4.       แบ่งปันความรู้และวิธีแก้ปัญหาในการเขียนวิจารณ์บนพื้นที่อินเทอร์เน็ตที่นักวิจารณ์รุ่นใหม่ประสบ

ทั้งนี้หลังจากการอบรม “ค่ายการวิจารณ์ศิลปะ” แล้วจะมีกิจกรรมต่อเนื่อง

                        1.  ในแต่ละสาขาจะมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการร่วมกันต่อเนื่องหลังจากกิจกรรมค่าย 1 ครั้ง โดยที่ผู้เข้าอบรมต่างสาขาสามารถเข้ากิจกรรมเชิงปฎิบัติการต่อเนื่องของสาขาอื่นได้ (ทางโครงการจะสนับสนุนเพียงบางส่วน)

          2. โครงการฯ จะจัดพิมพ์หนังสือรวมบทวิจารณ์ โดยคัดเลือกผลงานของผู้เข้าอบรม ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถส่งบทวิจารณ์มาเพื่อพิจารณาหลังค่ายวิจารณ์ศิลปะและการจัดกิจกรรมต่อเนื่องได้

 

 

 

7 comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *