ปลุกผี: การทำงานศิลปะโดยมีชุมชนเป็นฐาน

 

จุฬญาณนนท์  ศิริพล

 

ภาพวิดีโอของกลุ่มชายหนุ่มวัยรุ่นวิ่งตามกันบนถนนลูกรัง ภาพของชายหนุ่มในชุดทหารแอบซุ่มยิงคนที่กำลังเดิน ตามคันนา ภาพชายหนุ่มนอนหลับภายใต้แสงสีแดงในยานอวกาศโดยมีเสียงบรรยายเล่าถึงความฝัน ภาพวิดีโอเหล่านี้คือ ส่วนหนึ่งของงานวิดีโอจัดวางชุด “ปลุกผี” ซึ่งเป็นงานศิลปะที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการทำงาน โดยชุมชนดังกล่าวคือ บ้านนาบัว จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นชุมชนที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทยเริ่มจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กลุ่มชายหนุ่มในภาพวิดีโอเหล่านั้น ก็คือลูกหลานของคนในชุมชนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการเมืองของไทย ที่รัฐไม่ต้องการจะรื้อฟื้นเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมาใหม่

 

แม้คนรุ่นใหม่ในชุมชนนาบัวเอง ก็อาจจะไม่ตระหนักถึงประวัติศาสตร์ของชุมชนตัวเองก็เป็นได้

 

งานวิดีโอจัดวางชุด”ปลุกผี” ศิลปินไม่ได้นำเสนอประวัติศาสตร์ต้องห้ามนี้อย่างตรงไปตรงมา แต่ศิลปินได้เลือกใช้ ภาพตัวแทนและกระบวนการทำงานที่ทำร่วมกับชุมชนมาประกอบสร้างความทรงจำที่สูญหายไปขึ้นมาใหม่อย่างมีชั้นเชิง เช่น การที่ศิลปินเปิดโอกาสให้วัยรุ่นในชุมชนจินตนาการและออกแบบยานอวกาศเพื่อใช้เป็นยานย้อนเวลากลับสู่อดีต หรือให้วัยรุ่นมาแต่งตัวและแสดงเป็นทหารของรัฐไทยที่แอบซุ่มยิงชาวบ้านที่กำลังเดินตามคันนา หรือการผสมผสานความ ฝันของตัวศิลปินเองเข้ากับความฝันของวัยรุ่นในชุมชนและเรื่องราวของลุงบุญมีผู้ระลึกชาติได้ จนได้ออกมาเป็นเสียง บรรยายขณะที่ชายหนุ่มนอนหลับภายใต้แสงสีแดงในยานอวกาศเป็นต้น เหล่านี้เป็นวิธีการนำเสนอเรื่องราวใน ประวัติศาสตร์จากมุมมองของศิลปินที่เปิดกว้างต่อการตีความ ผู้ชมงานมีโอกาสที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ของตนเองเข้า กับตัวงานศิลปะได้อย่างอิสระ บางคนอาจเชื่อมโยงงานเข้ากับประสบการณ์ของตนในช่วง 6 ตุลา หรือ เหตุการณ์พฤษภา 53 ก็สามารถทำได้

ท่ามกลางปัญหาการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมาการหยิบยกประเด็น และย้อนกลับไปทบทวนประวัติศาสตร์ต้อง ห้ามทางการเมืองถือเป็นการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์รัฐไทยในยุคปัจจุบัน เป็นเหมือนบทสนทนาที่ พยายามจะสร้างให้เห็นมุมมองทางการเมืองที่แตกต่างออกไปจากการเมืองกระแสหลัก นิทรรศการชุดนี้ได้รับการนำเสนอ และพูดคุยกันในวงกว้างระหว่างชนชั้นกลางในเมือง แต่ในทางกลับกันคนรุ่นใหม่ในชุมชนนาบัวที่ศิลปินได้เข้าไปทำ กิจกรรม เข้าใจหรือไม่ว่ากิจกรรมที่ศิลปินได้สร้างขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับชุมชนตนเองอย่างไรบ้าง หรือคนรุ่นใหม่ เหล่านั้นก็ยังคงเป็นเพียงแค่นักแสดงหรือภาพตัวแทนอีกภาพหนึ่งของการถูกทำให้ลืมเท่านั้น

ศิลปินในฐานะคนนอกไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรในชุมชนได้กระบวนการทำงานศิลปะ โดยมีชุมชนเป็น ฐานจึงมีความสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มีการสนทนาระหว่างกันและหันกลับมามองชุมชนของตัวเองใหม่ โดย ไม่จำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกระแสหลัก การทำงานศิลปะโดยมีชุมชนนาบัวเป็นฐานก็หวังว่าจะ สามารถปลุกความทรงจำที่รัฐกระทำต่อประชาชนกลับคืนมาได้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ ก่อนที่ ผีคอมมิวนิสต์เหล่านั้นจะถูกลบเลือนออกไปจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทย

 

——————————-

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *